Popular Posts

Monday, December 19, 2011

Economic Note: Euro debt crisis update


Risks to the life of the euro currency seem not to be off the radar anymore. There was a report that the European Financial Stability Facility (EFSF) would include explicit warnings of a Eurozone breakdown as well as the cessation of the euro as a lawful currency in the prospectus for its bailout instruments, known as Euro Sovereign Credit-Linked Certificates. Note that these products are modeled on credit default swaps and expected to be launched in January. As the news threatened investors and hampered markets, a source said that the EFSF will remove the clause on the euro breakup from initial drafts. Such a move highlights that EU officials are becoming more sensitive to the issue and indicates the increasing fragility of the Eurozone.

It seems that officials of late have acknowledged a rising chance of a euro recession and the risks it could post to the global economy. The IMF director sees a gloomy economic outlook, with no country or region being immune to the crisis now deemed to not merely be unfolding but escalating. In order to cope with the problem, the IMF has urged countries, in the Eurozone in particular, to take action to shore up growth. While there’s limited room for interest rate cuts given the current already low level of the policy rate at 1%, the ECB decided to gear up its non-traditional monetary easing by lengthening the duration of the Long Term Refinancing Operation (LTRO) to three years. In addition, the ECB president stated that “we want to make it absolutely clear that in the present conditions where systemic risk is seriously hampering the functioning of the economy, we see no stigma attached to the use of central banking credit provisions: our facilities are there to be used”. While the three-year LTRO will help prevent the economy from a credit crunch, we see that quantitative easing is still needed to pull down market interest rates, which would alleviate overall financial tension and support economic growth. Such unorthodox measures are very important, especially with fiscal hands tied by the budget deficit target of 3% that must be met by 2013. To us, while there’s no doubt about the Eurozone economic recession, we believe that a euro breakup is unlikely. We also see that the crisis this time in the Eurozone will not be as severe as the one in the US in 2008, as the situation was much more complicated due to the more sophisticated nature of problematic securities. Meanwhile, we believe that EU officials will eventually do whatever it takes to save the life of the union, which has been in existence for a decade. Still, the region will continue to struggle with sub-par growth for some time, constituting a drag on the global recovery, at least in the coming year.

Sunday, June 5, 2011

AGRI & Food: Looking for a new sweetheart? Try KSL – Neutral

1Q11 results review:


Results of Agri & Food sector are mixed. Meat producers like CPF and GFPT reported normalized earnings that improved 224% and 15.3%, respectively, from the previous quarter due to higher meat prices. (see Fig.3) Meanwhile, TVO reported a 48.6% QoQ decline in earnings mainly due to slow moving soybean meal volume. STA’s earnings jumped 78.6% QoQ following skyrocketing rubber prices.

Recent developments:

Domestic meat prices remained on the uptrend in Apr-May. QTD broiler and swine prices went up 10% and 17%, respectively, from 1Q11. The sustained level of high prices coupled with rising demand (both domestic and export) should cause earnings momentum to peak in 3Q11.

For soft commodities, prices have been volatile but remained at high levels in a historical context. The La Nina phenomenon has faded, but it left huge damage from its final goodbye kiss, with an overflowing Mississippi River and a tornado in Missouri . The planting progress of key crops has been slower than the historical average this year. Elsewhere, China has experienced a persistent drought along the Yangtze River , which is likely to damage crops in the area.

Our view:

CPF and GFPT remain relatively low risk/low return bets supported by high domestic meat prices. We prefer GFPT (TP Bt14) due to its focus on the broiler chain. Day old chick prices are still rising, suggesting a tight demand/supply balance.

KSL (TP Bt17) is our top pick. We are convinced that KSL will report its 2QFY11 (Feb-Apr) during mid June with earnings that jump 165% to Bt400m and go higher in 3QFY11. Key investment ideas are: 1) KSL starts realizing a high margin of this year’s crop in 2Q, 2) lower drag from Laos and Cambodia after crushing first crop, 3) higher-than-expected Thai sugar cane (90m tons vs. first estimate of 70m tons), resulting in extra sugar volume for sugar millers, 4) world raw sugar prices rebounding to 23cents/lb. from a 20.5cent/lb. low. This implies lower risk to next year’s pricing.


Friday, May 13, 2011

การปรับตัวของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยต่อสภาวะก่อนและระหว่างวิกฤติเศรษฐกิจ


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจที่มีต่อธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงการปรับตัวและผลลัพธ์จากการดำเนินการ ข้อมูลจะประกอบด้วยเอกสารการดำเนินการ รายงานการเงินและการสัมภาษณ์ผู้บริหารของโรงพยาบาลตัวอย่าง 75 แห่ง ร่วมกับข้อมูลจากโครงการสำรวจโรงพยาบาลเอกชนปี .. 2544 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ส่วนมุมมองของการกำหนดนโยบายได้จากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมโรงพยาบาลเอกชน สถาบันการเงิน และผู้ที่กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง โดยเก็บข้อมูลการดำเนินการของโรงพยาบาลได้ 29 แห่ง(38.6%) ร่วมกับข้อมูลโครงการสำรวจโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 326 แห่ง สัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาลจำนวน 31 แห่ง(41.3%) ร่วมกับการวิเคราะห์รายงานการเงินของโรงพยาบาล 62 แห่ง(82.6%) จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า

ศักยภาพและการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชน .. 2544 โรงพยาบาลเอกชนมีการกระจายหนาแน่นอยู่ในภาคกลางมากที่สุด รองลงมาคือกรุงเทพฯ โดยโรงพยาบาลขนาดไม่เกิน 50 เตียงมีจำนวนมากที่สุด(53.37%) มีจำนวนผู้ป่วยในมารับบริการเฉลี่ย 4,569 รายต่อแห่งและผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 181.94 ครั้งต่อแห่งต่อวัน จำนวนวันป่วยนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 4.55 วันต่อคน อัตราครองเตียงเฉลี่ยทั้งประเทศที่ 38.76% และระหว่าง ปี 2539-2543 มีการลดลงของจำนวนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน

สถานการณ์ลงทุนและการเงินของโรงพยาบาลเอกชน ในปี 2543 โรงพยาบาลได้จดทะเบียนประกอบการในรูปบริษัทจำกัดหรือบริษัทจำกัด(มหาชน)มากที่สุด(72.09%) การลงทุนส่วนใหญ่จะอาศัยเงินลงทุนภายประเทศ(92.64%) ผลการดำเนินการในปี พ.ศ. 2543 ในภาพรวมยังขาดทุนเฉลี่ย 9.50 ล้านบาทต่อโรงพยาบาล โดยมีเพียงโรงพยาบาลขนาดมากกว่า 200 เตียงเท่านั้นที่มีค่าเฉลี่ยรายได้เป็นบวก คือ 20.58 ล้านบาท สำหรับสภาพคล่องของธุรกิจ มีเพียงหนึ่งในสาม(35.48%)เท่านั้นที่มีค่าเงินทุนหมุนเวียน(Working Capital)เป็นบวก ซึ่งจะสอดคล้องกับค่าอัตราส่วนอัตราส่วนเงินสินทรัพย์หมุนเวียน(Current Ratio) อย่างไรก็ตามแม้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มากกว่า 200 เตียงจะมีเงินทุนหมุนเวียนติดลบมาก แต่ค่าอัตราส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนจะดีกว่าโรงพยาบาลขนาดอื่นๆ สำหรับโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นหน่วยการลงทุนหมวดสุขภาพมีจำนวน 10 แห่ง (ไม่นับ 3 กลุ่มมีผลประกอบการต่ำกว่าที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้ต้องอยู่ในหมวดบริษัทที่ต้องปรับปรุงกิจการ) พบว่ายอดขายที่เป็นการบริการรักษาพยาบาล ต้นทุนการบริการและกำไรขั้นต้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่กำไรสุทธิในช่วงเริ่มต้นวิกฤติเศรษฐกิจจะมียอดขาดทุนเป็นครั้งแรก แต่เมื่อถึงปี 2544 ยอดกำไรสุทธิเริ่มสูงขึ้นเป็นบวก โดยน่าจะมีผลร่วมจากโครงสร้างบัญชีและการแก้ไขจัดการลงทุน เช่นการปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น ส่วนการลงทุนภาพรวมโรงพยาบาลเอกชนพบว่าจะมีสัดส่วนที่เป็นสินทรัพย์ถาวรมากกว่าส่วนทุน (Efficiency Ratio > 1.0) เนื่องมาจากมีการลงทุนสร้างอาคารและอุปกรณ์ไปมาก และได้ส่งผลกระทบกับเงินทุนหมุนเวียนของการดำเนินกิจการในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

ผลกระทบและลักษณะการปรับตัวหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ มีจำนวนโรงพยาบาล 76.99% ที่ได้รับผลกระทบกับจำนวนผู้ป่วยใน รองลงมาเป็นผลกระทบต่อจำนวนผู้ป่วยนอก (69.33%) ซึ่งโรงพยาบาลขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบของจำนวนผู้ป่วยมากกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มที่จ่ายเงินค่ารักษาเองเนื่องจากกำลังซื้อของประชาชนลดลง และการลดสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการในการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลจำต้องลดพื้นที่บริการลดลงตามจำนวนผู้มารับบริการไปด้วยและหันมาสนใจกลุ่มประกันสังคมมากขึ้น โรงพยาบาลทุกขนาดต่างก็มีภาระหนี้สินที่มีดอกเบี้ยแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะปี 2541-2543  โรงพยาบาลขนาด 51-100 เตียงทั้งหมดต้องรับภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น โดยค่าเฉลี่ยของภาระดอกเบี้ยของโรงพยาบาลที่มีหนี้สินนั้นจะสูงขึ้นตามขนาดของโรงพยาบาล การปรับตัวที่เกิดขึ้นมีทั้งลดขนาดและปิดกิจการ หลังวิกฤติเศรษฐกิจหนึ่งปีเริ่มมีโรงพยาบาลบางแห่งขอลดขนาดจำนวนเตียงลง 6 แห่ง และมี 43 แห่งที่ขอปิดกิจการเลย ส่วนจำนวนบุคลากรในระบบไม่ได้ลดจำนวนมากนักเพียงแต่จะได้รับผลกระทบในเรื่องค่าตอบแทนเช่น การปรับลดเงินเดือน นอกจากนี้ยังมีการขยายบริการอื่นๆที่นิยมส่วนใหญ่เป็นการจัดชุดบริการแบบเหมาจ่ายเช่น การคลอด การตรวจสุขภาพ เป็นต้น

แนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจ คู่แข่งรายใหม่ที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากเพราะ อุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนใช้เงินลงทุนสูง ต้นทุนของการเริ่มผลิตสูง เช่น ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร และเครื่องมือแพทย์ อีกทั้งการหาแพทย์และการชักจูงแพทย์เข้ามาทำงานในโรงพยาบาลเอกชนเปิดใหม่ทำได้ยาก อาจเป็นโอกาสให้ผู้ป่วยเพิ่มอำนาจการต่อรองผู้ซื้อในอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนนั้นสูงขึ้น สื่อสารมวลชนและองค์การต่างๆของรัฐบาลและเอกชนพยายามเพิ่มอำนาจการต่อของผู้ป่วยโดยการออกกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อเพิ่มสิทธิของผู้ป่วย ภาวะการแข่งขันของโรงพยาบาลเอกชนจะเน้นเรื่องของภาพลักษณ์ที่ดีโดยเน้นที่การคัดเลือกแพทย์ที่มีคุณภาพทางด้านความรู้ความชำนาญ การทำการตลาดที่เหมาะสมจะทำให้ภาพลักษณ์ของคุณภาพการรักษาพยาบาลในสายตาของผู้ป่วยสูงขึ้น และส่วนใหญ่ยังคงจะมุ่งเน้นไปยังฐานลูกค้าที่มีระดับรายได้ปานกลางไปถึงสูงซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อการบริการและความสะดวกสบาย ปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลต่ออุตสาหกรรม ประกอบด้วย พรบ.สุขภาพแห่งชาติ, พรบ.หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, นโยบายการเป็นศูนย์บริการสุขภาพของภูมิภาค, การเปิดเสรีทางการค้า เป็นต้น
ข้อเสนอเชิงนโยบายได้แก่ การใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชน การกำหนดจำนวนและขนาดของโรงพยาบาลตามพื้นที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน การควบคุมเรื่องคุณภาพบริการจากแนวโน้มของค่าบริการราคาเดียวจากการเหมาจ่ายรายหัว มีหน่วยงานที่ให้คำแนะนำในการเข้าสู่ธุรกิจโรงพยาบาล การประสานงานเพื่อเพิ่มส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกันและความเสมอภาคของการตรวจสอบและใช้นโยบายของรัฐ เช่น การรับรองคุณภาพบริการ จะต้องดำเนินการเท่าเทียมกันทั้งของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยเน้นที่ประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับประโยชน์สูงสุด


ได้เวลาหุ้นอสังหาฯขาขึ้น ?

*โบรกฯ ฟันธง Q2-สิ้นปีนี้ กำไรโตต่อเนื่อง

โบรกฯ รุมเชียร์ ซื้อหุ้นอสังหาฯ หลังมองแนวโน้มผลงานยังแจ่ม แจงโค้งแรกกำไรวูบ เพราะฐานปีก่อนสูง เชื่อตั้งแต่ Q2/54 ถึงสิ้นปีกำไรฟื้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีกำไรในภาพรวมโต 15% ชู PS, SPALI, AP และ LPN เด่นรับอานิสงส์โครงการบ้านหลังแรก บิ๊ก SPALI โชว์Backlog 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.54 ) มากกว่า 2 หมื่นลบ. มั่นใจรายได้ปี 54 เข้าเป้า 1.4 หมื่นลบ .

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจผลประกอบการไตรมาส 1/2554 หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ประกาศผลประกอบการออกมาแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่กำไรสุทธิปรับตัวลดลง อาทิ บริษัทเอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)AP มีกำไรเปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยไตรมาส 1/2554 มีกำไรสุทธิ 132.17 ล้านบาท จากงวดไตรมาส 1/2553 ที่มีกำไรสุทธิ 1,237.65 ล้านบาท ลดลง 1105.48 ล้านบาท หรือ -89.32% รองลงมา ได้แก่ บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)(QH)โดยมีกำไรสุทธิ 157.71 ล้านบาท จากงวดไตรมาส 1/2553 มีกำไรสุทธิ 1,001.66 ล้านบาท ลดลง 843.95 ล้านบาท หรือ -84.25 % และ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) (MK) มีกำไรสุทธิ 47.00 ล้านบาท จากงวดไตรมาส 1/2553 ที่มีกำไรสุทธิ 194.90 ล้านบาท ลดลง 147.9 ล้านบาท หรือ 75.88 % ขณะที่ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)หรือ LPN ไตรมาส 1/2554 มีกำไรสุทธิ 405.60 ล้านบาท จากงวดไตรมาส 1/2553 ที่มีกำไรสุทธิ 270.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้น134.69 ล้านบาท หรือ 49.71%

*โบรกฯ เผย หุ้นอสังหาฯ ยังแจ่ม แจงผลงานQ1/54 กำไรวูบแรงเหตุฐานปีก่อนสูง มั่นใจQ2/54 กำไรฟื้น ทั้งปีกำไรในภาพรวมโต 15%

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เอเชียพลัส กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แม้จะดูเหมือนปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เป็นผลจากที่ฐานในปีก่อนสูงมาก ตามผลของมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯของรัฐบาล แต่หากนำมาพิจารณากับการคาดการณ์ผลประกอบการทั้งปีของแต่ละบริษัทถือว่าภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้น บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF) และ บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ PRIN ซึ่งต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

สำหรับแนวโน้มในไตรมาส 2/54 เชื่อว่าจะมีผลการดำเนินงานสูงขึ้นจากไตรมาสแรกอย่างแน่นอน จากแรงกระตุ้นของมาตรการบ้านหลังแรกปลอดดอกเบี้ยของรัฐบาล ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้มีผลโดยตรงต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ในด้านกำลังซื้อ แต่จะช่วยส่งเสริมกำลังซื้อเดิมให้มีอัตราการเร่งมากขึ้น ขณะเดียวกันจะทำให้อัตราส่วนยอดการยกเลิกการจองอสังหาฯลดลง อีกทั้งผู้ประกอบการอสังหาฯขณะนี้มี Backlog ในมือจำนวนมากที่พร้อมรองรับความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้จะส่งผลบวกต่อหุ้น บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS และ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI ดังนั้นจึงถือเป็นหุ้นโดดเด่นและน่าลงทุนจากปัจจัยดังกล่าว ทั้งนี้ ประเมินมูลค่าเหมาะสมของ PS ที่ 25.88 บาท และ SPALI อยู่ที่ 19 บาท

ส่วนภาพรวมอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ทั้งปีนี้ คาดว่ายอด Presale จะลดลง ตามการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค จากเดิมเน้นกลุ่มที่อยู่อาศัยแบบคอนโดมิเนียม มาเป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ในเชิงผลการดำเนินงานกำไรทั้งปีคาดว่าจะยังขยายตัวได้ทั้งอุตสาหกรรมที่ 15%

*เคที ซีมิโก้ คงมุมมองเป็นบวกต่อกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบ อุปสงค์บ้านเดี่ยวยังแข็งแกร่ง ชู PS, SPALI, AP และ LPN โดดเด่น

บทวิเคราะห์ บล.เคที ซีมิโก้ ระบุว่า แม้ข้อมูลจาก AREA ในเดือน มี.ค. จะบ่งชี้ภาวะซบเซาของตลาดที่อยู่อาศัย โดยอัตราการขายรวมลดในทุกประเภทที่อยู่อาศัย (คอนโด ทาวน์เฮาส์ และบ้านเดี่ยว)ซึ่งเกิดขึ้นจริงกับคอนโดและทาวน์เฮ้าส์ แต่เรายังเห็นถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในบ้านเดี่ยว ดังนั้น เรายังคงมุมมองเป็นบวกต่อกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบ โดยเลือก PS,SPALI, AP และ LPN เป็นหุ้นเด่น

อุปทานที่พักอาศัยใหม่ (บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ และอาคารชุด) อยู่ที่ 11,123 ยูนิตในเดือน มี.ค. 54 ลดลง 3%MoM โดยอุปทานอาคารชุดเพิ่ม 7%MoM หรือ 5,536 ยูนิต คิดเป็น 50% ของอุปทานรวม ตามมาด้วยบ้านเดี่ยวสัดส่วน 26% (2,879ยูนิต เพิ่ม 24%MoM) และทาวน์เฮ้าส์ 24% (2,708 ยูนิต ลดลง 31%MoM)
อัตราการขายรวมลดลงเป็นเดือนแรก 17% ในเดือน มี.ค. จาก 23% ในเดือนก.พ. ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้

อัตราการขายคอนโดลดเป็น 27% (จาก 35%) ต่ำกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 30-35% (ระดับบ่งชี้ว่าตลาดคอนโดยังดี) อย่างไรก็ตาม ด้วยอุปทานคอนโดใหม่กว่าครึ่งเป็นอาคารชุดราคา 0.5-1 ล้านบาท/ยูนิต ซึ่งมีอัตราการขายเพียง 21%โดยอุปทานคอนโดใหม่ราคาถูกนี้มาจาก LPN เป็นหลัก ซึ่งโครงการแจ้งวัฒนะเปิดขายเพียง 70% ทำให้โครงการนี้มีอัตราการขาย 35% (เทียบกับรายงานที่25%) ทั้งนี้ ประเด็นหลักยังคงอยู่ที่อุปทานจำนวนมากในบางพื้นที่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการขาย

อัตราการขายทาวน์เฮ้าส์ลดจาก 14% เป็น 7% แม้อุปทานใหม่จะลด 31% ในเดือน มี.ค. สะท้อนถึงความซบเซาของตลาดทาวน์เฮ้าส์อย่างชัดเจนผู้ประกอบการรายใหญ่รับรู้ถึงแนวโน้มนี้และปรับไปเน้นบ้านเดี่ยวแล้ว

สำหรับบ้านเดี่ยวมีอัตราการขาย 5% ลดจาก 10% ในเดือน ก.พ. เพราะอุปทานใหม่ที่เพิ่มอย่างมีนัย (เพิ่ม 24%MoM และ 361%YoY) โดย LH เปิดขายบ้านเดี่ยว 1.2 พันยูนิต ในราคา 3-10 ล้านบาท/ยูนิต ซึ่งเราเชื่อว่าน่าจะบ้านสร้างก่อนขายไม่เกิน 200 ยูนิต เราคิดว่าการพัฒนาบ้านเดี่ยวในปริมาณที่ลดต่อเฟสหรือโครงการ ต่างจากในอดีตหรือการพัฒนาโครงการคอนโดที่จะมีปริมาณการสร้างทั้งหมดเข้ามาในตลาด ทั้งนี้ ในรูปที่ 3 แสดงให้เห็นถึงอัตราการขายบ้านเดี่ยวเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่ม 80%YoY เป็น 164 ยูนิต/เดือน สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์แข็งแกร่งในที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว

* กรุงศรีอยุธยา เชียร์ซื้อ QH แม้ผลงานQ1/54 ต่ำกว่าคาด แต่แนวโน้มยังดี ให้มูลค่าพื้นฐานเท่ากับ 3.40 บาท

บทวิเคราะห์ บล.กรุงศรีอยุธยา ระบุว่า บริษัทประกาศกำไรสุทธิ 1Q54 เท่ากับ 158 ล้านบาท (-84%YoY และ -62%QoQ) ลดลงเช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายใหญ่อื่นๆ แต่ตัวเลขกำไรสุทธิต่ำกว่าเราคาดการณ์ประมาณ 32% สาเหตุที่ลดลงทั้ง YoY และ QoQ เกิดจาก 1) รายได้รับรู้จากธุรกิจโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบรวมกับคอนโดมิเนียมจะลดลงทั้ง YoY และ QoQ มาที่ 1.93 พันล้านบาท (-58%YoY และ -35%QoQ) ต่ำกว่าเราคาดการณ์ 8% รายได้ส่วนใหญ่มาจากโครงการแนวราบซึ่งลดลงตามยอด Pre-Sale โครงการแนวราบที่ชะลอตัวเหลือ 2.32 พันล้านบาทในช่วง 1Q54 และรายได้จากโครงการคอนโดมิเนียมก็ลดลงเช่นกันเนื่องจากมีเพียงรายได้จากยอดคงเหลือโอนข้ามปีของโครงการคอนโดมิเนียม Q หลังสวน, 2) อัตรากำไรขั้นต้นจากธุรกิจการขายโครงการที่อยู่อาศัยใน 1Q54 เท่ากับ 26.8% ต่ำกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ที่ 27.9% ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากจุดต่ำสุดในช่วง 4Q53 เป็นผลจากการระบายสต๊อกสินค้าทาวน์เฮ้าส์บางโครงการซึ่งเป็นนโยบายต่อเนื่องจากปลายปี 53 และ 3) กำไรจากการขายเงินลงทุนใน 1Q54 เล็กน้อยประมาณ 3.2 ล้านบาท ในขณะที่บันทึกกำไรจากการขายเงินลงทุนใน Q-CON สูงถึง 197 ล้านบาทใน 1Q53 และกำไรจากการขายเงินลงทุนใน HMPRO ประมาณ 122 ล้านบาทใน 4Q53 อย่างไรก็ตามธุรกิจให้เช่าของ QH ยังเติบโต QoQ ตามคาดการณ์ โดยที่อัตราครอบครองพื้นที่ให้เช่าของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่สูงขึ้นใน 1Q54 มาที่ 70% จากสิ้นปี 53 ที่ 60% ส่งผลให้รายได้จากธุรกิจนี้ฟื้นตัวต่อเนื่องจาก 4Q53 มาที่ 176 ล้านบาท (-16%YoY และ +2%QoQ) ในขณะที่รายได้จากธุรกิจให้เช่าพ ื้นที่สำนักงานทรงตัวทั้ง YoY และ QoQ

แม้ว่ากำไรสุทธิใน 1Q54 ต่ำกว่าคาดและคิดเป็นเพียง 7.5% ของกำไรสุทธิทั้งปีที่เราคาดการณ์ไว้แต่เราคาดการณ์ถึงแนวโน้มเติบโตอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ 3Q54 เป็นต้นไปเกิดจาก1) การเปิดโครงการแนวราบใหม่ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้จะผลักดันยอด Pre-Sale โครงการแนวราบให้เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทที่ 14.5 พันล้านบาทและเป้าหมายยอด Pre-Sale โดยรวมทั้งหมดที่ 19 พันล้านบาท (+53.2%YoY) ได้, 2) อัตรากำไรขั้นต้นจากธุรกิจขายโครงการแนวราบมีแนวโน้มฟื้นตัวมาสู่อัตราปกติ 29-30% ตั้งแต่ 3Q54 เป็นต้นไปภายหลังที่การระบายสต๊อกสินค้าโครงการปัจจุบันสิ้นสุดลง และ 3) การรับรู้รายได้จากโครงการคอนโดมิเนียม Q หลังสวนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่เหลือของปีเนื่องจากบริษัทเริ่มใช้ Sale Agent ภายนอกบริษัทเข้ามาช่วยบริหารการขายตั้งแต่เดือน เม.ย. 54 เป็นต้นไปเพื่อเพิ่มรายได้ของโครงการนี้ในปี 54 ให้เ ป็นไปตามเป้าหมายของผู้บริหารที่ 1 พันล้านบาท

ประเมินมูลค่าพื้นฐานหุ้น QH เท่ากับ 3.40 บาท ตามวิธี Sum-of-the-parts โดยรวมมูลค่าธุรกิจขายโครงการที่อยู่อาศัยและมูลค่าของสินทรัพย์ประเภท Recurring Income ทั้งเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์และอาคารสำนักงานบวกกับมูลค่าของการลงทุนในบริษัทร่วม (HMPRO @ Fair value,LHBANK @ IPO price, และ QHPF @ Fair value) และมูลค่าสินทรัพย์อื่นๆ

*เกียรตินาคิน ชี้ SPALI รับอานิสงส์โครงการบ้านหลังแรกของรัฐ แนะซื้อ ให้ราคาเหมาะสมปีนี้ที่ 12.50 บาท

บทวิเคราะห์ บล.เกียรตินาคิน ระบุว่า ผลประกอบการ 1Q54 ปรับลดทั้งรายไตรมาสและรายปีตามคาด สาเหตุจาก รายได้ที่อ่อนตัวลง แต่ใน 2Q54 จะฟื้นตัวดีขึ้นจากการรับรู้รายได้โครงการคอนโดมีเนียม 2 แห่งคือ City Resort Ramkhamhaeng และ City Home Rattanathibeth มองความเด่นของบริษัทมาจาก 1) การจ่ายปันผลที่ต่อเนื่อง ให้ผลตอบแทนมากว่า 5% โดยคาดปี 54 จ่ายปันผลทั้งปีได้ 0.66 บาท Dividend Yield 5.8% 2)บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่โดดเด่น โดยทำอัตรากำไรขั้นต้นได้มากกว่า 40% และอัตรากำไรสุทธิมากกว่า 20% รองรับภาระต้นทุนที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นได้

ทั้งนี้บริษัทมีโอกาสได้รับประโยชน์จาก นโยบายภาครัฐที่จัดแคมเปญ รวมกับ (ธ.อ.ส.) โดยมีลูกค้าในกลุ่มระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้าน ประมาณ 70%ราคาที่เหมาะสมปี 54ของบริษัทอยู่ที่ 12.50 บาท แนะนำ “ซื้อ”

ส่วนผลประกอบการ1Q54ประกาศกำไรสุทธิ 733 ล้านบาท(-35%QoQ,-12%YoY) ใกล้เคียงประมาณการ

-รายได้จากการขายและบริการ 3,286 ล้านบาท ลดลง 31%QoQ แต่เพิ่มขึ้น 4%YoY มาจากการรับรู้รายได้หลักจากโครงการคอนโดมีเนียม Supalai Park– เกษตรนวมินทร์

ส่วนทีเหลือ 1,600 ล้านบาท และ โครงการ Spalai Premier รัชดา-นราธิวาส 650 ล้านบาท คิดเป็น 71%ของรายได้จากการขาย ส่วนที่เหลือ 29% เป็นการรับรู้รายได้จากแนวราบ

-อัตรากำไรขั้นต้นปรับดีขึ้นเป็น 43.9% เมื่อเทียบกับ รายไตรมาสที่ 42.4%แต่ลดลงเมื่อเทียบกับรายปีที่ 44.4% มาจากการรับรู้รายได้สินค้าคอนโดมีเนียมที่ต่อเนื่อง

-ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 303 ล้านบาท (-19%QoQ,+72%YoY)เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับรายปีมาจากมาตรการภาครัฐที่หมดอายุลง โดยเมื่อเทียบกับยอดขายอยู่ที่ 9%เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 8% และรายปี 6% โดยมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่ทรงตัวระดับต่ำกว่า 1 เท่า อยู่ที่ 0.86 เท่าจากเป้าหมายยอดขาย (Presale) ทั้งปี 17,000 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัท 4,200 ล้านบาท คิดเป็น 25% ของเป้าหมาย

บริษัททำยอดขายได้ต่อเนื่องที่ 2,208 ล้านบาท ใน 1Q54 โดยเมื่อรวมกับโครงการใหม่ที่บริษัทมีการเปิดตัว Soft lunch คือ โครงการคอนโดมีเนียม พรีมา รีวา มูลค่าโครงการ 5,500 ล้านบาท ได้รับการตอบรับที่ดีพอควร โดยมียอดขายปัจจุบันอยู่ที่ 1,600 ล้านบาท คิดเป็น 29% ของมูลค่าโครงการ โดยมองจากความน่าสนใจของพื้นที่ตั้ง คอนโดมีเนียม ริมแม่น้ำ (พระราม 3- นราธิวาส)

ยอดขายตั้งแต่ต้นปี – ปัจจุบันอยู่ที่ 4,200 ล้านบาท คาดหวังจาก 1)การเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งปี ที่จำนวน 14 โครงการ มูลค่ารวม 18,740 ล้านบาท แนวราบ 10 โครงการมูลค่ารวม 8,340 ล้านบาท และโครงการคอนโดมีเนียม 4 โครงการมูลค่ารวม 10,400 ล้านบาท และอาจมีการเพิ่มโครงการใหม่ที่เป็นสินค้าคอนโดมีเนียมอีก 1 โครงการมูลค่า 2,000 ล้านบาท โดยมีมูลค่าคงเหลือพร้อมขายที่ 18,894 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบ 61% และคอนโดมีเนียม 39% ที่จะทำให้ยอดขายทั้งปีเป็นไปตามเป้า โดยบริษัทได้มีแผนการซื้อที่ดินเพื่อเตรียมเปิดโครงการใหม่ในปี 55 ไว้แล้ว 14 โครงการ มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท

งานในมือ (Backlog) ณ สิ้น 1Q54 อยู่ที่ 14,424 ล้านบาท แบ่งเป็นสินค้าคอนโดมีเนียม 85%แนวราบ 15% คาดจะสามารถรับรู้รายได้ในปี 54 ได้ 6,399 ล้านบาท โดยมีโครงการรอรับรู้รายได้ 1)โครงการ City Resort Ramkhamhaeng มูลค่า 1,245 ล้านบาท 2)โครงการ City Home Rattanathibeth มูลค่า 1,780 ล้านบาท 3)Supalai Park Tiwanon มูลค่า 1,700 ล้านบาท ปี 55 ที่ 4,970 ล้านบาท ในปี 56 ที่ 3,581 ล้านบาท จนถึงปี 57 ที่ระดับ 2,982 ล้านบาท ซึ่งงานในมือของปี54 สามารถเป็นหลักประกันให้กับรายได้ที่ประมาณการของเรา ถึง 72% จากประมาณการรายได้ทั้งปี 12,650 ล้านบาท และคาดมีกำไรสุทธิ 2,703 ล้านบาท EPS 1.56 บาท จ่ายปันผลได้ 0.66 บาท ให้ผลตอบแทนเงินปันผลทั้งปีที่ 5.8% ราคาที่เหมาะสมปี54 (อ้างอิง APER 8 เท่า) อยู่ที่ 12.50 บาท

สำหรับเงื่อนไขของกระทรวงการคลังจัดแคมเปญร่วมกับ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในกลุ่มลูกค้าที่ซื้อบ้านต่ำกว่าราคา 3 ล้านบาทมีส่วนเอื้อประโยชน์ให้กับ SPALI ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่มีสัดส่วนลูกค้าในสินค้า70% แนะนำ “ซื้อ” จากเป็นผู้นำเรื่องความสามารถในการทำกำไรที่ดี ที่มี อัตรากำไรขั้นต้นที่มากว่า 40% และอัตรากำไรสุทธิมากกว่า 20% ซึ่งสามารถรองรับความเสี่ยงการปรับลดที่เกิดจาก การปรับขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างและต้นทุนอื่น การแข่งขันที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

* บัวหลวง คาด PS กำไรQ2/54 โตทั้ง YoY และ QoQ จนถึงสิ้นปี ชี้ ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้น แนะซื้อ

บทวิเคราะห์ บล.บัวหลวง ระบุว่า ตามคาด PS รายงานกำไรหลักไตรมาส 1/54 ที่ 730 ล้านบาท ลดลง 41% YoY และ 39% QoQ เป็นไปตามประมาณการของเราและประมาณการตลาด หากรวมผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1.4 ล้านบาท กำไรสุทธิจะอยู่ที่ 731 ล้านบาท

ประเด็นหลักจากผลประกอบการ: ผลประกอบการที่ไม่ดีนักในไตรมาส 1/54 เนื่องจากรายได้ลดลง 19% YoY และ 22% QoQ มาอยู่ที่ 5.4 พันล้านบาท จากข้อจำกัดด้านการก่อสร้าง โดยเฉพาะจากโครงการทาวน์เฮ้าส์ แต่อย่างไรก็ตาม อัตรากำไรขั้นต้นน่าประทับใจอยู่ที่ 39.3% ในไตรมาส 1/54 ซึ่งดีที่สุดในรอบปี (ราคาขายปรับเพิ่มขึ้นก่อนต้นทุนเพิ่มขึ้น) ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดยังคงอยู่ในระดับสูง ที่สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารต่อยอดขายเพิ่มขึ้นจาก 17.3% ในไตรมาส 4/53 มาอยู่ที่ 22.2% ในไตรมาส 1/54 (ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดเกี่ยวข้องกับการเปิดตัวโครงการสูงต่อเนื่องจำนวน 26 โครงการรวมมูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท ในไตรมาส 1/54) สัดส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.98 เท่า ณ สิ้นเดือนมี.ค. (จาก 0.76 เท่า ณ สิ้นปี 2553) ปัจจัยหลักจากการเพิ่มที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการจำนวนมาก โดยคาดว่าอัตราส่วนดังกล่าวจะถึงจุดสูงสุดในไตรมาส 2/54

แนวโน้ม: เราคาดการณ์กำไรไตรมาส 2/54 เติบโตทั้ง YoY และ QoQ กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวที่โรงงาน prefabrication ของ PS ซึ่งขณะที่ได้ดำเนินงานแล้วและคาดว่าจะดำเนินงานเต็มกำลังการผลิตในเดือนมิ.ย. จะหนุนการเติบโตกำไรในไตรมาส 2/54 นอกจากนี้รายได้จากโครงการในต่างประเทศ (จากมัลดีฟ) จะยิ่งหนุนกำไรขึ้น เราคาดว่ามีแนวโน้มที่กำไรจะเติบโต QoQ ต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 4/54

เรายังคงประมาณการกำไรเท่าเดิมแม้ว่ากำไรในไตรมาส 1/54 จะคิดเป็นเพียง 15% ของประมาณการกำไรปี 2554 (17% ของประมาณการตลาด) ยอดขายรอรับรู้เป็นรายได้ ณ สิ้นเดือนมี.ค.ที่ 1.8 หมื่นล้านบาทจะโอนในไตรมาส 2-4/54 คิดเป็น 77% ของประมาณการรายได้ปี 2554 ของเรา (และ 80% ของประมาณการตลาด)

คำแนะนำการลงทุน: ขณะนี้เป็นโอกาสเหมาะที่จะเข้าซื้อ จากกำไรถึงจุดต่ำสุดของปี และจะตามมาด้วยกำไรเติบโตแข็งแกร่งทั้ง YoY และ QoQ ในทุกไตรมาสจาก 2/54 จนสิ้นปี ราคาหุ้น PS คาดว่าจะปรับตัวขึ้น เนื่องจากความกังวลตลาดเกี่ยวกับข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตได้ลดลงจากการเริ่มดำเนินงานของกำลังการผลิตใหม่แล้ว โดยเราคาดบริษัทจะมีกำไรเติบโตสูงที่สุดในกลุ่ม (คาด EPS ปกติเพิ่มขึ้น 35%) หนุนโดยรายได้ขยายตัว 33% แตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 3.1 หมื่นล้านบาท เราคาดว่าตลาดจะปรับเพิ่มประมาณการ เนื่องจากประมาณการปัจจุบันต่ำเกินไป (ต่ำกว่าประมาณการของเรา 13%) หุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ PER ปี 2554 ที่ 9.5 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปี 2549-2553 เล็กน้อยที่ 9.6 เท่า เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมายปี 2554 ที่ 30 บาท คิดตาม PER ที่ 13.5 เท่า (สูงกว่าค่าเฉลี่ยปี 2549-2553 อยู่ 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)

* ดีบีเอสวิคเคอร์ส มอง LPN แนวโน้มธุรกิจยังบวก มูลค่าหุ้นยังถูก คาดเงินปันผลปี 54 ที่ 6.2% แนะซื้อ

บทวิเคราะห์ บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส ระบุว่า กำไรสุทธิ 1Q54 เติบโต 50% y-o-y เป็น 406 ล้านบาท เพราะรายได้จากคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้น 72% อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นได้ดีเป็น 33.7% เทียบกับ 31.1% ใน 1Q53 อย่างไรก็ตามอัตรากำไรสุทธิกลับอ่อนลงเป็น 16.2% เทียบกับ 1Q53 ที่ 18.2% สืบเนื่องจากภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้นหลังหมดอายุมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์

• งบดุลยังคงแข็งแกร่ง ณ ปลายปี 53 อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนต่ำเป็นเพียง 10%

• แนวโน้มยังคงเป็นบวก ตามแผนแล้วจะมีคอนโดมิเนียม 4 โครงการที่จะก่อสร้างโอนกรรมสิทธิ์ในช่วง 2Q54-4Q54 ส่วนยอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) ณ ปลาย 1Q54 เป็น 14.7 พันล้านบาท ซึ่งในจำนวน 9.6 พันล้านบาทจะมีการรับรู้รายได้ในช่วง 2Q54-4Q54 และส่วนที่เหลือจะมีการรับรู้รายได้ในปี55 ดังนั้นจึงเป็นการรับประกันรายได้ที่เราทำประมาณการปีนี้ไว้ในสัดส่วนถึง 96% แล้ว นอกจากนี้เราคาดว่าบริษัทจะได้รับประโยชน์เต็มที่จากการที่ ธอส.ได้ออกโปรแกรมสินเชื่ออัตราดอกเบี้ย 0% เป็นเวลา 2 ปี ในวงเงินทั้งหมด 25 พันล้านบาท สำหรับบ้านรวมทั้งคอนโดมิเนียมที่มีราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ของ LPN มีราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ตรงกับคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น บริษัทได้วางแผนเปิดการขายโครงการใหม่ 4 แห่งใน 2Q54 ซึ่ง 2 โครงการอยู่ที่พัทยา ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่บริษัทเปิดขายคอนโดที่อยู่นอกกรุงเทพและปริมณฑล

• คงคำแนะนำ ซื้อ การประเมินมูลค่าหุ้นพบว่ายังถูก ราคาหุ้นซื้อขายที่ P/E ปี 54 ที่ 8.1 เท่า ราคาปิดยังมีส่วนเพิ่มเทียบกับราคาพื้นฐานได้อีก 24% ราคาพื้นฐานกำหนดไว้ที่ 12.63 บาทซึ่งประเมินด้วย P/E ปี 54 ที่ 10.0 เท่า และสอดคล้องกับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (RNAV) ของบริษัท ผนวกกับคาดการณ์อัตราผลตอบแทนเงินปันผลปี 54 ที่ 6.2%

* ฟินันเซีย ไซรัส เชียร์ซื้อ AP ชี้ 2Q11-3Q11 กำไรจะดีขึ้น ตามลำดับ ให้ราคาเป้าหมายปี 2011 ที่ 7 บาท อิง PE 10 เท่า

บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า กำไรปกติ 1Q11 ลด Q-Q และ Y-Y ต่ำกว่าคาดมาก 2Q11-3Q11 จะดีขี้น กำไรปกติ 1Q11 ลดลง 81.5% Q-Q และ 90.0% Y-Y แต่น่าจะเป็นไตรมาสต่ำสุดของปีนี้ มีกำไรปกติเพียง 113 ล้านบาท ต่ำกว่าคาดมาก เพราะมียอดโอนน้อยกว่าคาด 10% ค่าใช้จ่ายบริหารงานและดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าคาด ส่วนกำไรสุทธิ 1Q11 อยู่ที่ 132 ล้านบาท ลดลง 78.4% Q-Q และ 89.3% Y-Y โดยมีกำไรจากการขายเงินลงทุน 19 ล้านบาท มีรายละเอียดคือ

รายได้การโอนบ้านและคอนโด 2.2 พันล้านบาท (-47.5% Q-Q,-64.0% Y-Y) เป็นยอดโอนคอนโดที่ 718 ล้านบาท มีโอนเพียง 1 โครงการ คือ Rhythm Ratchada โอน 31% และบ้านแนวราบโอนรวม 1.46 พันล้านบาท (-35.6% Q-Q,-7.1% Y-Y) อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยอยู่ที่ 35.8% ต่ำลงจาก 4Q10 เพราะมีสัดส่วนโอนคอนโดที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงน้อยกว่า แต่ดีขึ้นจาก 1Q10 เพราะอัตรากำไรขั้นต้นบ้านแนวราบไตรมาสนี้สูงกว่าปีก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายขายและบริหารอยู่ที่ 538 ล้านบาท (-38.4% Q-Q,+13.9% Y-Y) มากกว่าคาด 8% และมีดอกเบี้ยจ่าย 59 ล้านบาท ซึ่งเราคาดเพียง 23 ล้านบาท

แนวโน้ม 2Q11-3Q11 กำไรจะดีขึ้น Q-Q ตามลำดับ เพราะจะมีคอนโดฯ Rhythm Ratchada โอนต่อเนื่องจาก 1Q11 และมีคอนโด 3 โครงการ คือ The Address Phayathai Life Ladprao 18 และ Rhythm HuayKwang เริ่มโอนในเดือนมิ.ย.11 และ The Address Sukhumvit 28 ในเดือน พ.ย.11 และ Backlog บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์อีก 3.2 พันล้านบาท ที่คาดทยอยโอนใน 2Q11-3Q11 จะทำให้กำไรต่อไตรมาสค่อยๆ ปรับดีขึ้นเรื่อยๆ

ยอด Presales YTD ถึง 8 พ.ค.11 อยู่ที่ 4 พันล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายบ้านแนวราบ 2.5 พันล้านบาท ซึ่งขายดีขึ้นมากจากปีก่อน โดยได้เปิดทาวน์เฮาส์ราคาประมาณ 2 ล้านบาทแบรนด์ใหม่ “Pleno” ใน 1Q11 ไปสองโครงการ ขายได้ 337 ล้านบาท และคอนโดฯ 1.5 พันล้านบาท มาจากโครงการที่ขายต่อเนื่องจากปี 2010 โดยบริษัทมีแผนจะเริ่มเปิดคอนโดใหม่ในเดือนมิ.ย. คือ Rhythm Sukhumvit 44 มูลค่า 2.4 พันล้านบาท และ Aspire Srinakarin มูลค่า 440 ล้านบาท

ยอดขายที่รอรับรู้ (Backlog) อยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท รับรู้เป็นรายได้จากปี 2011-14 แบ่งเป็นบ้านแนวราบ 3.2 พันล้านบาทและคอนโดมีเนียม 2.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้เป็นรายได้ปี 2011-14

ปี 2011 จะเน้นบ้านแนวราบมากขึ้น โดยจะเปิดบ้านเดี่ยว 1 โครงการ มูลค่า 1.75 พันล้านบาท ทาวน์เฮาส์ 10 โครงการ มูลค่า 7.64 พันล้านบาท และคอนโดฯ 4 โครงการ มูลค่า 9.4 พันล้านบาท โดยบริษัทจะเปิดโครงการทาวน์เฮาส์มากขึ้น โดยเน้นทำเลใกล้เคียงโครงการเดิมระดับราคา 4-5 ล้านบาท และเพิ่มทาวน์เฮาส์แบรนด์ใหม่ คือ The Plano ระดับราคา 2 ล้านบาท เพื่อรองรับลูกค้าระดับกลาง-ล่าง ส่วนคอนโดฯ จะเปิดน้อยลงเพราะได้เปิดไปจำนวน 6 โครงการแล้วในปี 2010 ซึ่งคอนโดในปี 2011 คาดว่าจะเริ่มเปิดตัวตั้งแต่ปลาย 2Q11 เป็นต้นไป

แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายปี 2011 ที่ 7 บาท อิง PE 10 เท่า AP แม้ผลประกอบการ 1Q11 อาจสร้างความผิดหวัง แต่แนวโน้ม 2Q11 จะเริ่มฟื้นตัวขึ้น ราคาที่ปรับลง จึงเป็นจังหวะสะสมหุ้น

* บิ๊ก SPALI โชว์Backlog 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.54 ) มากกว่า 2 หมื่นลบ. มั่นใจรายได้ปี 54 เข้าเป้า 1.4 หมื่นลบ .

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI กล่าวถึง จำนวนงานในมือที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) ช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.54 ) ว่า มีมากกว่า 2 หมื่นล้านบาทแล้ว โดยสิ้นไตรมาสแรกอยู่ที่ 17,644 ล้านบาท และในเดือนเม.ย.บริษัทฯ มีการขายโครงการศุภาลัย พรีมา ริวา ซึ่งขายดีเกินคาด ล่าสุดมียอดขายเข้ามาประมาณ 3,200 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 5,500 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูงสุดของบริษัทฯ

โดยในจำนวน Backlog ดังกล่าว บริษัทฯ จะทยอยรับรู้รายได้อีก 3-4 ปี เฉพาะในปีนี้จะมีการรับรู้รายได้เข้ามา 6,399 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะทยอยรับรู้ในปีถัดไป ดังนั้นจึงเชื่อว่าจะทำให้เป้าหมายรายได้รวมในปีนี้อยู่ที่ 14,000 ล้านบาท ตามที่บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ โดยในจำนวนนี้ 1,000 ล้านบาทจะมาจากรายได้ของบริษัทย่อยในต่างจังหวัดที่ศุภาลัยถือหุ้นอยู่

*ด้านบิ๊ก PS มั่นใจ Q2 ดีขึ้น รับอานิงสงส์โครงการบ้านหลังแรกเตรียมออกหุ้นกู้ปลายปี ราว 2-3 พันลบ.

นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS กล่าวว่า บริษัทฯ มีกำไรไตรมาส 1/2554 ที่ 731.38 ล้านบาท จากกำไร 1.22 พันลบ. ในช่วงเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ ในไตรมาส 2/25554 บริษัทมียอดขายบ้านที่รอโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท และเป็นบ้านหลังแรกของลูกค้า มูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท จากยอดขายที่รอโอนกรรมสิทธิ์ในปีนี้ รวมทั้งสิ้น 18,431 ล้านบาท เพื่อรองรับมาตรการโครงการบ้านหลังแรกของรัฐบาล โดยจะเร่งก่อสร้างเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าได้ทันตามโครงการดังกล่าว

ขณะเดียวกัน เชื่อว่าแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 2/2554 จะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมาตรการบ้านหลังแรกของรัฐบาลจะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าเร่งโอนเร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีโครงการคอนโดมิเนียมที่จะทยอยสร้างเสร็จ 3-4 โครงการ และรับรู้รายได้บางส่วนในไตรมาส 2 และต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 3 ปีนี้

นอกจากนี้ ในปีนี้บริษัทฯ มีแผนจะรุกตลาดบ้านระดับกลางถึงบนมากขึ้น โดยคาดว่าจะเปิดตัวโครงการในไตรมาส 4/2554 แบ่งเป็นบ้านเดี่ยว ราคา 5-10 ล้านบาท ประมาณ 1-2 โครงการ และทาวน์เฮ้าส์ระดับราคา 2-4 ล้านบาท ประมาณ 2-3 โครงการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเข้าไปกินส่วนแบ่งการตลาดบ้านราคาระดับบนมากขึ้นหลังจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายรายได้หันมารุกบ้านระดับกลางถึงล่าง ซึ่งเป็นตลาดที่บริษัทฯ มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด สำหรับไตรมาส 2/2554 จะเปิดตัวประมาณ 10-20 โครงการ โดยเน้นทาวน์เฮ้าส์และบ้านเดี่ยว โดยตั้งเป้ายอดขาย 9,668 ล้านบาท

สำหรับโครงการในต่างประเทศ อินโดนีเซียยังเป็นตลาดที่น่าสนใจ โดยคาดว่าไตรมาส 3/54 จะเข้าไปศึกษาการทำธุรกิจประเทศดังกล่าว ส่วนในมัลดีฟและอินเดีย ล่าสุดมียอดขายรวม ณ สิ้นไตรมาส 1 ประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนในเวียดนาม ตอนนี้ซื้อที่ดินเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะขึ้นโครงการภายในปีนี้

ด้านนายสมบูรณ์ วศินชัชวาล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบัญชีและการเงิน บริษัทพฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน)หรือ PS กล่าวว่า คาดว่าไตรมาสนี้ บริษัทฯ จะออกตั๋วบีอี ประมาณ 2,000 พันล้านบาท เพื่อจะนำเงินไว้ใช้หมุนเวียน ขณะเดียวกันในช่วงไตรมาส 3-4 ปี 2554 มีแผนจะออกหุ้นกู้ มูลค่าประมาณ 2-3 พันล้านบาท ทั้งนี้เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปใช้ไถ่ถอนหุ้นกู้ชุดเดิมที่ครบกำหนด ม.ค. 2555 ประมาณ 1,500 ล้านบาท ส่วนที่เหลือนำไปใช้ขยายธุรกิจ

อย่างไรก็ดี คาดว่าราคาขายบ้านเฉลี่ยของบริษัทฯในปีนี้จะปรับขึ้นประมาณ 3-5% ซึ่งอัตราการปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวได้ทยอยปรับมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว และในช่วงครึ่งปีหลังหากราคาน้ำมันไม่ปรับเพิ่มขึ้นไปมากกว่านี้ บริษัทฯ ไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาบ้านอีก

นายสมบูรณ์ กล่าวต่อถึงแผนการโรดโชว์ต่างประเทศ ว่า เดือนมิ.ย. จะไปโรดโชว์ที่ลอนดอน และนิวยอร์ค ส่วนเดือนก.ย. อาจจะไปโรดโชว์ที่สิงคโปร์ และฮ่องกง โดยการไปดังกล่าวเพื่ออัพเดทข้อมูลให้แก่นักลงทุน 





Sunday, April 24, 2011

ผมตัดสินใจสร้างเครื่องผลิตความมั่งคั่ง

คนส่วนใหญ่จะทำงานเพื่อเงิน ผมเองก็เคยเป็นแบบนั้น แต่ก็มีความจริงที่น่าตกใจก็คือคนเหล่านั้นจะพบว่าตัวเองยังไม่ร่ำรวยเสียที!!



ทำไมจึงเป็นแบบนั้น? ก็เพราะว่าเงินมันลดค่าของมันเองตามกาลเวลา และรวดเร็วจนเราต้องตกใจ แต่หลายคนไม่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้..


ผมจึงตัดสินใจสร้างเครื่องผลิตความมั่งคง หรือเครื่องผลิตเงินแทน.. หลักการของเครื่องนี้ก็ง่ายนิดเดียว คือมันจะเปลี่ยนรายรับของผมให้เป็นสินทรัพย์ และทรัพย์สินอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่ามากขึ้นๆ เมื่อเวลาผ่านไป.. ตรงกันข้ามกับวิธีดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง!

ข้อควรระวังก็คือ เราต้องหมั่นดูแลรักษาเครื่องจักรตัวนี้อย่างดีตลอดเวลา ไม่ให้เครื่องมีปัญหา และคอยอัปเกรดเครื่องเป็นประจำเพื่อไม่ให้มันล้าสมัย เจ้าเครื่องนี้ก็คือ “ความคิดของผมนั่นเอง”

จิตวิญญาณอันแรงกล้ามักจะเผชิญกับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากจิตใจที่ธรรมดา

 
เปิดบ้านใหม่อบอุ่น และเป็นกันเอง ^_^

Saturday, April 23, 2011

รูปแบบการลงทุนในตลาดหุ้น

ตลาดหุ้น ณ.ปัจจุบัน (เมษายน 2554) ผันผวนมากมาย แต่ดูจากแนวโน้มแล้วนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็น "ขาขึ้น" การทำกำไรจาการซื้อขายในช่วงขาขึ้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าเราไม่ระมัดระวังให้ดีก็อาจสะดุดขาล้มไม่เป็นท่าเอาง่ายๆ เช่นกัน..

สมัยก่อนนักลงทุนในตลาด ไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลมากมายจากหลายแหล่งเหมือนกันทุกวันนี้ และพฤติกรรมการลงทุนก็มักจะแห่ตามกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กระแสตลาด" ที่จะเป็นตัวชี้นำนักลงทุนเหมือนเป็นทางสายหลักของทุกคน

ในปัจจุบันทางสายหลักอาจไม่อยู่ในสายตาของนักลงทุนทุกคนอีกต่อไป โดยพฤติกรรมการลงทุนก็มีมิติหลายหลากมากมายขึ้นกว่าในอดีต จากการสังเกตคร่าวๆ ก็พอจะสรุปรูปแบบการลงทุนได้ 3 ประเภท ได้แก่

1. นักลงทุนแนวเน้นคุณค่า หรือที่เรียกกันติดปากว่าแนว VI (Value Investor) นักลงทุนประเภทนี้เมื่อซื้อวันนี้ อาจจะขายปีหน้า หรืออีกสามปีข้างหน้า หรืออาจนานกว่านั้น ถ้าเราไม่สามารถทำแบบนี้ได้ก็ถือว่าเราไม่ใช่นักลงทุนประเภทนี้

2. นักลงทุนตามกระแสหลัก นักลงทุนกลุ่มนี้จะเน้นหุ้นตัวใหญ่มีปริมาณการซื้อขายเยอะๆ และจะแห่ซื้อตามจ้าวใหญ่ๆ (Fund Flow) เมื่อราคาของหุ้นขึ้นถึงจุดที่คิดว่าสูงที่สุดก็จะเทขายทำกำไร

3. เม่าน้อยกลอยใจ นักลงทุนกลุ่มนี้มีการลงทุนที่ไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่ชอบลงทุนในหุ้นตัวเล็ก ที่มีเรื่องราว เมื่อรับข่าวสารเต็มที่ก็จะเข้าถือโดยคาดหวังว่าราคาจะขึ้นไปอีก และจะเทขายทันทีที่ราคาขยับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลาไม่นาน บางรายซื้อขายภายในวันเดียว (Day Trade)

จะเห็นได้ว่าเพียงแค่ 3 กลุ่มนี้รูปแบบการลงทุนก็แตกต่างกันพอสมควรทีเดียว ต่างฝ่ายต่างลงทุนในรูปแบบที่ตนคิดว่าเหมาะสมกับตัวเอง และมีหลักเกณฑ์ของตนเอง

การคาดเดาทิศทางของตลาดในปัจจุบันจึงไม่เหมือนในอดีตอีกต่อไป ส่วนทิศทางโดยรวมจะเป็นอย่างไรนั้น คงไม่สำคัญเท่ากับการที่เราลงทุนด้วยความไม่ประมาท ถ้าเรารู้จังหวะดีพอ ความสำเร็จก็คงไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน..

"จำไว้ว่าถ้าเรารู้สึกตื่นเต้นที่จะลงทุนในทรัพย์สินอะไรก็ตาม คนที่รู้จักทรัพย์สินนั้นมากกว่าเราก็กำลังรู้สึกตื่นเต้นที่จะขายทรัพย์สินนั้นให้กับเราเหมือนกัน"


กระเป๋าผ้าทำมือ กับไอเดียแห่งความสุข คลิ๊กที่นี่!!

Wednesday, April 20, 2011

US and euro zone inflation were at identical 2.7% y/y rates in March

US and euro zone inflation were at identical 2.7% y/y rates in March; core inflation was 1.2% versus 1.3% but given this same set of inflation dynamics, the ECB has already raised interest rates once and is likely to do so again this summer while the Fed sees an alibi to complete QE2 and postpone any exit from ultra loose policy. Why the difference? Firstly, Fed officials focus on core inflation and dismiss the commodity surge as transient, while ECB officials target headline inflation, and worry that higher energy and food prices will amplify via “second round” effects, namely higher wages and retail prices.


? Secondly, the ECB is now focused on the structural shift in imported merchandise inflation from China , which the Fed is blithely ignoring, despite Chinese manufactured import prices rising at an annualized rate of 5.2% in Q1, the fastest pace since August 2008. Lastly, economic ‘slack’ in Germany versus the US in terms of unemployment (7.1% versus 8.8%) and industrial capacity utilisation (85% versus 77%) raises the risk of wages chasing CPI higher. One country where a little overdue inflation is welcome is Japan, where the corporate goods price index in March rose for the sixth month in a row and at the fastest pace in more than two years, accelerating from a 1.7% gain in February.

? The CGPI generally lags changes in the country's output gap by about 6 months and leads CPI changes by the same duration. In April, Japanese firms generally revise prices at the start of the new fiscal year and surging input costs, the post quake disruption and the monetary response to it should all underpin inflationary momentum. For the first time since May 2009, the proportion of rising prices in the index composition exceeded that of falling. While everyone is focused on the Fed and ECB, the BOJ has recently been the key player in driving risk assets. Yen intervention reignited the carry trade last month as the balance sheet of the BOJ leapt by $275bn, sending high yielding bond and currency markets from Turkey to Australia surging. However, one problem I highlighted at the time was that the liquidity injection was short dated; it has since fallen $70bn and on current policy will continue to decline to pre quake levels in coming months, a liquidity withdrawal exceeding the remaining QE2 purchases.

Saturday, April 16, 2011

เริ่มต้นการลงทุนด้วยการมองภาพแห่งความสำเร็จ

ผมเป็นคนหนึ่งที่เริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้นได้พักหนี่งแล้ว จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง ผมคิดว่าเราควรจะเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายในการลงทุนของเราเสียก่อน


สำหรับตัวผมเองตั้งเป้าไว้ 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

เป้าหมายระยะสั้นก็คือ การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ หาข้อมูล เรียนรู้ การอ่านหนังสือดีๆ ที่เป็นเสมือนอาหารสมอง ตุนไว้เป็นเสบียงให้พร้อมสำหรับการลงทุน โดยผมมักจะใช้ช่วงเวลาในวันหยุดสุดสัปดาห์เติมเสบียงเป็นประจำ

เป้าหมายระยะกลางของผมก็คือ ตั้งขนาดของพอร์ตหุ้นของตัวเอง ล้านแรกเมื่อไร และต้องการกำไรในระยะเบื้องต้นกี่เปอร์เซ็นต์ ส่วนตัวแล้วผมคิดว่ากำไรสำหรับการลงทุนไม่ควรต่ำกว่า 15% บวกลบได้พอประมาณ โดยในระยะนี้ผมจะลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตรวดเร็ว ทำให้สามารถขายทำกำไรได้เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

เป้าหมายระยะยาวก็คือ การเก็บกินเงินปันผล โดยที่เงินปันผลที่ผมได้รับจากการลงทุนควรที่จะเพียงพอสำหรับใช้ยามเกษียณ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราคิดว่าต้องการเงินปันผลที่เพียงพอในค่าใช้จ่ายต่อเดือนเป็นจำนวนเงินเท่าไร เราก็ควรลงทุนในหุ้นที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว และที่สำคัญต้องมีความมั่นคง มีอัตราการเติบโตของเงินปันผลที่น่าพอใจ

ถ้าเรามีเป้าหมายชัด มองเห็นภาพแห่งความสำเร็จอย่างชัดเจน สิ่งที่เรียกว่า "ประสบความสำเร็จ" ก็คงจะไม่ไกลเกินจินตนาการ

ณ.ปัจจุบันนี้ผมได้เริ่มต้นแล้ว และส่วนตัวแล้วคิดว่าถ้าเราไม่ประมาณจนเกินไป การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ถ้าเราทำให้เหมือนกับการออมอย่างหนึ่ง ผมเชื่อว่าในที่สุดผลตอบแทนจะน่าพอใจในแบบที่เราต้องการได้ไม่ยากเลย..

รับสมัครตัวแทนจำหน่ายอิสระ คลิ๊กเลย!!

Mini MP4 Click here !!!

Garden Plus