KSL
KSL
บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ภายใต้กลุ่ม เค เอส แอล เป็นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย โดยกลุ่มบริษัทมีโรงงานน้ำตาลที่อยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจทั้งหมด 4 โรง โดยแบ่งสายการผลิตออกเป็น 3 ภาค ดังนี้
1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบจังหวัดขอนแก่น มี 1 โรงงาน ได้แก่ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)
2. ภาคกลาง แถบจังหวัดกาญจนบุรี มี 2 โรงงาน ได้แก่ บริษัท โรงงานน้ำตาลนิวกรุงไทย จำกัด และ บริษัท น้ำตาลท่ามะกา จำกัด
3. ภาคตะวันออกมี 1 โรงงาน คือ บริษัท น้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี จำกัด
ผลิตภัณฑ์ที่ทางบริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยผลิต จะประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่เป็นน้ำตาลทราย ซึ่งสามารถจำแนกประเภทได้ 4 ประเภท คือ น้ำตาลทรายดิบ (Raw Sugar), น้ำตาลทรายดิบคุณภาพสูง (High Pol Sugar), น้ำตาลทรายขาว (White Sugar) และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (Refined Sugar) และผลิตภัณฑ์เสริมที่เกี่ยวเนื่องที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายอีก เช่น กากน้ำตาล (Molasses) กากอ้อย (Bagasses) และกากหม้อกรอง (Filter Cake) โดยบริษัทได้ขยายการลงทุนต่อยอดจากกระบวนการผลิตน้ำตาล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม คือ
(1) โรงงานผลิตเอทานอล ซึ่งใช้ผสมกับน้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ใช้วัตถุดิบคือ กากน้ำตาล และน้ำอ้อย
(2) โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ ใช้วัตถุดิบที่เป็นน้ำเสียที่มาจากกระบวนการผลิตเอทานอล มาหมักให้ได้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงเสริมสำหรับโรงไฟฟ้า
(3) โรงงานผลิตปุ๋ยชีวภาพ ใช้วัตถุดิบที่เป็นของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำตาล (กากหม้อกรอง) และน้ำเสียที่มาจากกระบวนการผลิตก๊าชชีวภาพ และการผลิตเอทานอล
(4) โรงไฟฟ้า ใช้วัตถุดิบที่เป็นของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำตาล (กากอ้อย) และก๊าซชีวภาพที่ได้จากโรงงานผลิตก๊าชชีวภาพ เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และพลังไอน้ำขายให้กับโรงงานในเครือและการไฟฟ้า
สำหรับภาพรวมของบริษัทต้องถือว่าเป็นบริษัทที่มีความมั่นคงสูงครับ ธุรกิจส่วนใหญ่คือการผลิตน้ำตาลกว่า 90% ทีเหลือเป็นธุรกิจเสริมครับ ในส่วนของตัวเลขทางการเงินกระแสเงินสดจากการดำเนินงานต่อหุ้นที่ผมคำนวนได้ คือ 1.29 บาทต่อหุ้น ถือว่าดีครับ ROE สูงใช้ได้ครับ แต่ ROA ต่ำไปนิดแสดงให้เห็นถึงการคืนทุนในส่วนของสินทรัพย์ทำได้ดีในปีหลังๆ อาจต้องเทียบกับกิจการคู่แข่งว่าใครทำได้ดีกว่ากันครับ อัตราการทำกำไรเติบโตเป็นเลขสองหลักน่าสนใจทีเดียวครับ หนี้สินต่อทุนสูงไปนิด (อาจเป็นธรรมชาติของการทำธุรกิจประเภทนี้) และเงินปันผลไม่ค่อยจะสม่ำเสมอครับ
ปัจจัยเสี่ยง
ความผันผวนของปริมาณอ้อยจะเกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการคือ (1) ปริมาณพื้นที่ในการเพาะปลูกอ้อย (จำนวนไร่) ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่เกษตรกรเปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชไร่ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า รวมถึงเกิดจากนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ผลผลิตอ้อยต่อพื้นที่เพาะปลูก (ตันอ้อยต่อไร่) ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น ภัยแล้ง และน้ำท่วม อันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปริมาณอ้อยลดลง ทำให้บริษัท มีปริมาณการผลิตที่ลดลง ต้นทุนต่อหน่วยโดยเฉพาะในส่วนของต้นทุนคงที่ต่อหน่วยสูงขึ้น กำไรต่อหน่วยลดลง และสุดท้ายส่งผลให้กำไรของบริษัทลดลง ... แสดงว่าวัตถุดิบมีผลอย่างมากต่อการผลิตน้ำตาล และดูเหมือนจะไม่สามารถผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้กับผู้บริโภคได้ครับ เนื่องจากน้ำตาลเป็นสินค้าควบคุมราคาโดยรัฐบาล
ความผันผวนของราคาน้ำตาลในตลาดโลก ... ในการซื้อขายน้ำตาลในตลาดโลกนั้น น้ำตาลจัดได้ว่าเป็นสินค้าหนึ่งที่มีความผันผวนทางด้านราคาสูงเมื่อเทียบกับสินค้าเกษตรอื่น ๆ โดยราคาน้ำตาลตลาดโลกจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุปสงค์ อุปทานของประเทศผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ส่งออก และผู้นำเข้า รวมถึงการเก็งกำไรจากนักเก็งกำไร ซึ่งจะเกี่ยวพันกับสภาพภูมิอากาศในการเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกของแต่ละประเทศ นโยบายการส่งเสริม การแทรกแซง การส่งออก การนำเข้า ของอุตสาหกรรมน้ำตาลของภาครัฐ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งปัจจุบันราคาน้ำตาลยังมีส่วนหนึ่งที่สัมพันธ์กับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย เนื่องจากอ้อยรวมถึงกากน้ำตาล สามารถนำไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์หรือที่เรียกว่าเอทานอล สำหรับผสมกับน้ำมันเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้ ด้วยปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ราคาซื้อขายน้ำตาลในตลาดโลกค่อนข้างผันผวนสูง ... หากน้ำตาลในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นก็จะเป็นประโยชน์กับบริษัทครับ ดังนั้นเราควรติดตามราคาน้ำตาลให้ดีด้วยครับ อาจกำหนดจุดเข้าซื้อเมื่อราคาน้ำตาลตกต่ำก็ได้ครับ ... ความเสี่ยงอื่นๆ (เงินเกี๊ยวในวงการน้ำตาล ฯลฯ) ลองดาวน์โหลด 56-1 มาอ่านดูครับมีรายละเอียดครบถ้วนทีเดียว
ข้อสรุป ... ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นหุ้นที่น่าซื้อครับ แต่ถ้าหวังเรื่องปันผลก็อาจจะไม่ได้รับเงินปันผลสม่ำเสมอซักเท่าไหร่ (ดูจากอดีตที่ผ่านมา) และผมได้ข่าวว่าตอนนี้วงการน้ำตาลโลกจะเน้นสั่งน้ำตาลจากประเทศอินเดีย เพราะราคาถูกกว่าครับ แต่ด้วยพื้นฐานของหุ้นที่ดูมั่นคงก็ยังน่าซื้อสะสมอยู่ดีครับ สูตรของผมคือทยอยซื้อเฉลี่ยราคาให้ถูกที่สุดครับ
เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล โปรดพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ
ขอบคุณสำหรับคำถามครับ
(นายแว่นธรรมดา)
แวะทักทายนายแว่นธรรมดาได้ที่นี่ครับ..
http://www.facebook.com/NaiwaenTammada
ผลงานลำดับที่ 3 ของนายแว่นธรรมดา "เปลี่ยนตัวเองใหม่ไม่ยาก"
http://thinkbeyondbook.com/node/670
KSL
บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ภายใต้กลุ่ม เค เอส แอล เป็นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย โดยกลุ่มบริษัทมีโรงงานน้ำตาลที่อยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจทั้งหมด 4 โรง โดยแบ่งสายการผลิตออกเป็น 3 ภาค ดังนี้
1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบจังหวัดขอนแก่น มี 1 โรงงาน ได้แก่ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)
2. ภาคกลาง แถบจังหวัดกาญจนบุรี มี 2 โรงงาน ได้แก่ บริษัท โรงงานน้ำตาลนิวกรุงไทย จำกัด และ บริษัท น้ำตาลท่ามะกา จำกัด
3. ภาคตะวันออกมี 1 โรงงาน คือ บริษัท น้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี จำกัด
ผลิตภัณฑ์ที่ทางบริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยผลิต จะประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่เป็นน้ำตาลทราย ซึ่งสามารถจำแนกประเภทได้ 4 ประเภท คือ น้ำตาลทรายดิบ (Raw Sugar), น้ำตาลทรายดิบคุณภาพสูง (High Pol Sugar), น้ำตาลทรายขาว (White Sugar) และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (Refined Sugar) และผลิตภัณฑ์เสริมที่เกี่ยวเนื่องที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายอีก เช่น กากน้ำตาล (Molasses) กากอ้อย (Bagasses) และกากหม้อกรอง (Filter Cake) โดยบริษัทได้ขยายการลงทุนต่อยอดจากกระบวนการผลิตน้ำตาล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม คือ
(1) โรงงานผลิตเอทานอล ซึ่งใช้ผสมกับน้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ใช้วัตถุดิบคือ กากน้ำตาล และน้ำอ้อย
(2) โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ ใช้วัตถุดิบที่เป็นน้ำเสียที่มาจากกระบวนการผลิตเอทานอล มาหมักให้ได้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงเสริมสำหรับโรงไฟฟ้า
(3) โรงงานผลิตปุ๋ยชีวภาพ ใช้วัตถุดิบที่เป็นของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำตาล (กากหม้อกรอง) และน้ำเสียที่มาจากกระบวนการผลิตก๊าชชีวภาพ และการผลิตเอทานอล
(4) โรงไฟฟ้า ใช้วัตถุดิบที่เป็นของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำตาล (กากอ้อย) และก๊าซชีวภาพที่ได้จากโรงงานผลิตก๊าชชีวภาพ เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และพลังไอน้ำขายให้กับโรงงานในเครือและการไฟฟ้า
สำหรับภาพรวมของบริษัทต้องถือว่าเป็นบริษัทที่มีความมั่นคงสูงครับ ธุรกิจส่วนใหญ่คือการผลิตน้ำตาลกว่า 90% ทีเหลือเป็นธุรกิจเสริมครับ ในส่วนของตัวเลขทางการเงินกระแสเงินสดจากการดำเนินงานต่อหุ้นที่ผมคำนวนได้ คือ 1.29 บาทต่อหุ้น ถือว่าดีครับ ROE สูงใช้ได้ครับ แต่ ROA ต่ำไปนิดแสดงให้เห็นถึงการคืนทุนในส่วนของสินทรัพย์ทำได้ดีในปีหลังๆ อาจต้องเทียบกับกิจการคู่แข่งว่าใครทำได้ดีกว่ากันครับ อัตราการทำกำไรเติบโตเป็นเลขสองหลักน่าสนใจทีเดียวครับ หนี้สินต่อทุนสูงไปนิด (อาจเป็นธรรมชาติของการทำธุรกิจประเภทนี้) และเงินปันผลไม่ค่อยจะสม่ำเสมอครับ
ปัจจัยเสี่ยง
ความผันผวนของปริมาณอ้อยจะเกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการคือ (1) ปริมาณพื้นที่ในการเพาะปลูกอ้อย (จำนวนไร่) ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่เกษตรกรเปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชไร่ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า รวมถึงเกิดจากนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ผลผลิตอ้อยต่อพื้นที่เพาะปลูก (ตันอ้อยต่อไร่) ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น ภัยแล้ง และน้ำท่วม อันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปริมาณอ้อยลดลง ทำให้บริษัท มีปริมาณการผลิตที่ลดลง ต้นทุนต่อหน่วยโดยเฉพาะในส่วนของต้นทุนคงที่ต่อหน่วยสูงขึ้น กำไรต่อหน่วยลดลง และสุดท้ายส่งผลให้กำไรของบริษัทลดลง ... แสดงว่าวัตถุดิบมีผลอย่างมากต่อการผลิตน้ำตาล และดูเหมือนจะไม่สามารถผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้กับผู้บริโภคได้ครับ เนื่องจากน้ำตาลเป็นสินค้าควบคุมราคาโดยรัฐบาล
ความผันผวนของราคาน้ำตาลในตลาดโลก ... ในการซื้อขายน้ำตาลในตลาดโลกนั้น น้ำตาลจัดได้ว่าเป็นสินค้าหนึ่งที่มีความผันผวนทางด้านราคาสูงเมื่อเทียบกับสินค้าเกษตรอื่น ๆ โดยราคาน้ำตาลตลาดโลกจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุปสงค์ อุปทานของประเทศผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ส่งออก และผู้นำเข้า รวมถึงการเก็งกำไรจากนักเก็งกำไร ซึ่งจะเกี่ยวพันกับสภาพภูมิอากาศในการเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกของแต่ละประเทศ นโยบายการส่งเสริม การแทรกแซง การส่งออก การนำเข้า ของอุตสาหกรรมน้ำตาลของภาครัฐ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งปัจจุบันราคาน้ำตาลยังมีส่วนหนึ่งที่สัมพันธ์กับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย เนื่องจากอ้อยรวมถึงกากน้ำตาล สามารถนำไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์หรือที่เรียกว่าเอทานอล สำหรับผสมกับน้ำมันเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้ ด้วยปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ราคาซื้อขายน้ำตาลในตลาดโลกค่อนข้างผันผวนสูง ... หากน้ำตาลในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นก็จะเป็นประโยชน์กับบริษัทครับ ดังนั้นเราควรติดตามราคาน้ำตาลให้ดีด้วยครับ อาจกำหนดจุดเข้าซื้อเมื่อราคาน้ำตาลตกต่ำก็ได้ครับ ... ความเสี่ยงอื่นๆ (เงินเกี๊ยวในวงการน้ำตาล ฯลฯ) ลองดาวน์โหลด 56-1 มาอ่านดูครับมีรายละเอียดครบถ้วนทีเดียว
ข้อสรุป ... ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นหุ้นที่น่าซื้อครับ แต่ถ้าหวังเรื่องปันผลก็อาจจะไม่ได้รับเงินปันผลสม่ำเสมอซักเท่าไหร่ (ดูจากอดีตที่ผ่านมา) และผมได้ข่าวว่าตอนนี้วงการน้ำตาลโลกจะเน้นสั่งน้ำตาลจากประเทศอินเดีย เพราะราคาถูกกว่าครับ แต่ด้วยพื้นฐานของหุ้นที่ดูมั่นคงก็ยังน่าซื้อสะสมอยู่ดีครับ สูตรของผมคือทยอยซื้อเฉลี่ยราคาให้ถูกที่สุดครับ
เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล โปรดพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ
ขอบคุณสำหรับคำถามครับ
(นายแว่นธรรมดา)
แวะทักทายนายแว่นธรรมดาได้ที่นี่ครับ..
http://www.facebook.com/NaiwaenTammada
ผลงานลำดับที่ 3 ของนายแว่นธรรมดา "เปลี่ยนตัวเองใหม่ไม่ยาก"
http://thinkbeyondbook.com/node/670
ข่าว KSL
ReplyDeleteKSLเปิดแผน4ปีลงทุน8พันล้าน ผุดโรงงานน้ำตาล 2 แห่ง เป้าปี'58 กำลังผลิตล้านตันต่อปี KSL เผยแผน 4 ปี เตรียมทุ่ม 8,000 ล้านบาท ลุยเปิดโรงงานน้ำตาลเพิ่มอีก 2 แห่ง พร้อมขยายโรงงานบ่อพลอยเฟส 3 มั่นใจปี 2558 ผลผลิตแตะ 1 ล้านตันน้ำตาลต่อปี