Popular Posts

Friday, May 13, 2011

การปรับตัวของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยต่อสภาวะก่อนและระหว่างวิกฤติเศรษฐกิจ


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจที่มีต่อธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงการปรับตัวและผลลัพธ์จากการดำเนินการ ข้อมูลจะประกอบด้วยเอกสารการดำเนินการ รายงานการเงินและการสัมภาษณ์ผู้บริหารของโรงพยาบาลตัวอย่าง 75 แห่ง ร่วมกับข้อมูลจากโครงการสำรวจโรงพยาบาลเอกชนปี .. 2544 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ส่วนมุมมองของการกำหนดนโยบายได้จากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมโรงพยาบาลเอกชน สถาบันการเงิน และผู้ที่กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง โดยเก็บข้อมูลการดำเนินการของโรงพยาบาลได้ 29 แห่ง(38.6%) ร่วมกับข้อมูลโครงการสำรวจโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 326 แห่ง สัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาลจำนวน 31 แห่ง(41.3%) ร่วมกับการวิเคราะห์รายงานการเงินของโรงพยาบาล 62 แห่ง(82.6%) จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า

ศักยภาพและการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชน .. 2544 โรงพยาบาลเอกชนมีการกระจายหนาแน่นอยู่ในภาคกลางมากที่สุด รองลงมาคือกรุงเทพฯ โดยโรงพยาบาลขนาดไม่เกิน 50 เตียงมีจำนวนมากที่สุด(53.37%) มีจำนวนผู้ป่วยในมารับบริการเฉลี่ย 4,569 รายต่อแห่งและผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 181.94 ครั้งต่อแห่งต่อวัน จำนวนวันป่วยนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 4.55 วันต่อคน อัตราครองเตียงเฉลี่ยทั้งประเทศที่ 38.76% และระหว่าง ปี 2539-2543 มีการลดลงของจำนวนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน

สถานการณ์ลงทุนและการเงินของโรงพยาบาลเอกชน ในปี 2543 โรงพยาบาลได้จดทะเบียนประกอบการในรูปบริษัทจำกัดหรือบริษัทจำกัด(มหาชน)มากที่สุด(72.09%) การลงทุนส่วนใหญ่จะอาศัยเงินลงทุนภายประเทศ(92.64%) ผลการดำเนินการในปี พ.ศ. 2543 ในภาพรวมยังขาดทุนเฉลี่ย 9.50 ล้านบาทต่อโรงพยาบาล โดยมีเพียงโรงพยาบาลขนาดมากกว่า 200 เตียงเท่านั้นที่มีค่าเฉลี่ยรายได้เป็นบวก คือ 20.58 ล้านบาท สำหรับสภาพคล่องของธุรกิจ มีเพียงหนึ่งในสาม(35.48%)เท่านั้นที่มีค่าเงินทุนหมุนเวียน(Working Capital)เป็นบวก ซึ่งจะสอดคล้องกับค่าอัตราส่วนอัตราส่วนเงินสินทรัพย์หมุนเวียน(Current Ratio) อย่างไรก็ตามแม้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มากกว่า 200 เตียงจะมีเงินทุนหมุนเวียนติดลบมาก แต่ค่าอัตราส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนจะดีกว่าโรงพยาบาลขนาดอื่นๆ สำหรับโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นหน่วยการลงทุนหมวดสุขภาพมีจำนวน 10 แห่ง (ไม่นับ 3 กลุ่มมีผลประกอบการต่ำกว่าที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้ต้องอยู่ในหมวดบริษัทที่ต้องปรับปรุงกิจการ) พบว่ายอดขายที่เป็นการบริการรักษาพยาบาล ต้นทุนการบริการและกำไรขั้นต้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่กำไรสุทธิในช่วงเริ่มต้นวิกฤติเศรษฐกิจจะมียอดขาดทุนเป็นครั้งแรก แต่เมื่อถึงปี 2544 ยอดกำไรสุทธิเริ่มสูงขึ้นเป็นบวก โดยน่าจะมีผลร่วมจากโครงสร้างบัญชีและการแก้ไขจัดการลงทุน เช่นการปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น ส่วนการลงทุนภาพรวมโรงพยาบาลเอกชนพบว่าจะมีสัดส่วนที่เป็นสินทรัพย์ถาวรมากกว่าส่วนทุน (Efficiency Ratio > 1.0) เนื่องมาจากมีการลงทุนสร้างอาคารและอุปกรณ์ไปมาก และได้ส่งผลกระทบกับเงินทุนหมุนเวียนของการดำเนินกิจการในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

ผลกระทบและลักษณะการปรับตัวหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ มีจำนวนโรงพยาบาล 76.99% ที่ได้รับผลกระทบกับจำนวนผู้ป่วยใน รองลงมาเป็นผลกระทบต่อจำนวนผู้ป่วยนอก (69.33%) ซึ่งโรงพยาบาลขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบของจำนวนผู้ป่วยมากกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มที่จ่ายเงินค่ารักษาเองเนื่องจากกำลังซื้อของประชาชนลดลง และการลดสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการในการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลจำต้องลดพื้นที่บริการลดลงตามจำนวนผู้มารับบริการไปด้วยและหันมาสนใจกลุ่มประกันสังคมมากขึ้น โรงพยาบาลทุกขนาดต่างก็มีภาระหนี้สินที่มีดอกเบี้ยแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะปี 2541-2543  โรงพยาบาลขนาด 51-100 เตียงทั้งหมดต้องรับภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น โดยค่าเฉลี่ยของภาระดอกเบี้ยของโรงพยาบาลที่มีหนี้สินนั้นจะสูงขึ้นตามขนาดของโรงพยาบาล การปรับตัวที่เกิดขึ้นมีทั้งลดขนาดและปิดกิจการ หลังวิกฤติเศรษฐกิจหนึ่งปีเริ่มมีโรงพยาบาลบางแห่งขอลดขนาดจำนวนเตียงลง 6 แห่ง และมี 43 แห่งที่ขอปิดกิจการเลย ส่วนจำนวนบุคลากรในระบบไม่ได้ลดจำนวนมากนักเพียงแต่จะได้รับผลกระทบในเรื่องค่าตอบแทนเช่น การปรับลดเงินเดือน นอกจากนี้ยังมีการขยายบริการอื่นๆที่นิยมส่วนใหญ่เป็นการจัดชุดบริการแบบเหมาจ่ายเช่น การคลอด การตรวจสุขภาพ เป็นต้น

แนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจ คู่แข่งรายใหม่ที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากเพราะ อุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนใช้เงินลงทุนสูง ต้นทุนของการเริ่มผลิตสูง เช่น ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร และเครื่องมือแพทย์ อีกทั้งการหาแพทย์และการชักจูงแพทย์เข้ามาทำงานในโรงพยาบาลเอกชนเปิดใหม่ทำได้ยาก อาจเป็นโอกาสให้ผู้ป่วยเพิ่มอำนาจการต่อรองผู้ซื้อในอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนนั้นสูงขึ้น สื่อสารมวลชนและองค์การต่างๆของรัฐบาลและเอกชนพยายามเพิ่มอำนาจการต่อของผู้ป่วยโดยการออกกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อเพิ่มสิทธิของผู้ป่วย ภาวะการแข่งขันของโรงพยาบาลเอกชนจะเน้นเรื่องของภาพลักษณ์ที่ดีโดยเน้นที่การคัดเลือกแพทย์ที่มีคุณภาพทางด้านความรู้ความชำนาญ การทำการตลาดที่เหมาะสมจะทำให้ภาพลักษณ์ของคุณภาพการรักษาพยาบาลในสายตาของผู้ป่วยสูงขึ้น และส่วนใหญ่ยังคงจะมุ่งเน้นไปยังฐานลูกค้าที่มีระดับรายได้ปานกลางไปถึงสูงซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อการบริการและความสะดวกสบาย ปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลต่ออุตสาหกรรม ประกอบด้วย พรบ.สุขภาพแห่งชาติ, พรบ.หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, นโยบายการเป็นศูนย์บริการสุขภาพของภูมิภาค, การเปิดเสรีทางการค้า เป็นต้น
ข้อเสนอเชิงนโยบายได้แก่ การใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชน การกำหนดจำนวนและขนาดของโรงพยาบาลตามพื้นที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน การควบคุมเรื่องคุณภาพบริการจากแนวโน้มของค่าบริการราคาเดียวจากการเหมาจ่ายรายหัว มีหน่วยงานที่ให้คำแนะนำในการเข้าสู่ธุรกิจโรงพยาบาล การประสานงานเพื่อเพิ่มส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกันและความเสมอภาคของการตรวจสอบและใช้นโยบายของรัฐ เช่น การรับรองคุณภาพบริการ จะต้องดำเนินการเท่าเทียมกันทั้งของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยเน้นที่ประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับประโยชน์สูงสุด


1 comment:

  1. BGH-KHไม่หวั่นรพ.ศิริราชฐานลูกค้าคนละแบบ รายได้ปี'55โตไม่หวั่น

    BGH-KH มั่นใจศิริราชเปิดบริการสู้เอกชนไม่กระเทือน BGH ชี้รูปแบบไม่เหมือนกันแถมกลับเป็นเรื่องดีที่ได้เห็นโรงพยาบาลเร่งเสริมประสิทธิภาพ ฟาก KH มั่นใจไม่สะท้านเช่นกัน เชื่อรายได้ปี 2555 โตขั้นต่ำ 10% ส่วนโบรกฯ มองต่าง ชี้รายจ่ายถูกกว่า 20% มีสิทธิดึงลูกค้าย้ายค่าย

    ReplyDelete

Mini MP4 Click here !!!

Garden Plus